Tech

ครบจบ! Data Analytics คืออะไร จำเป็นต่อธุรกิจแค่ไหน?

September 20, 2023

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะต้องรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยการวางแผนธุรกิจที่มีประสิทธิภาพจากการนำ ‘ข้อมูล’ จากทั้งลูกค้า ภายในอุตสาหกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาประมวลผล วิเคราะห์ และตีความอย่างเหมาะสมด้วยเช่นกัน

การใช้เครื่องมือ Data Analytics ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงข้อมูลสำคัญจากฝั่งลูกค้าและเทรนด์ในอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ระบบ Data Analytics ยังเป็นตัวช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดได้อย่างสะดวก

แล้วเครื่องมือและระบบวิเคราะห์ข้อมูล Data Analytics คืออะไร มีความสำคัญกับธุรกิจมากน้อยแค่ไหน มาหาคำตอบได้ในบทความนี้กัน

ทำไมต้องใช้งาน Data Analytics?

ข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจไม่ได้จำกัดอยู่แค่การรายงานผลเป็นตัวเลข แต่เจ้าของธุรกิจยังสามารถนำ Big Data ซึ่งเป็นโครงข่ายข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนมาประมวลผลและวิเคราะห์ได้เช่นกัน โดย Big Data ที่นำมาใช้ในธุรกิจนั้นจะมีด้วยกัน 3 ประเภทหลัก

1. ข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน เช่น ข้อมูลที่มีการจัดเรียงในรูปแบบของตาราง หรือ ชุดข้อมูลที่มีรูปแบบ ทำให้สามารถนำไปใช้ต่อได้ทันที

2. ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการค้นหาตาม Search Engine ตลอดจนข้อมูลที่ติดตามผ่านแท็กได้

3. ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง เช่น รูปภาพ เสียง วิดีโอ

อย่างไรก็ดี ข้อมูลในแต่ละประเภทก็มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาหลากหลายด้าน ด้วยเหตุนี้ การใช้เครื่องมือ Data Analytics จึงสามารถช่วยให้ธุรกิจเลือกใช้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจได้อย่างสะดวก ตอบโจทย์ทั้งการสร้างแผนพัฒนาสินค้าและบริการ ไปจนถึงการวางแผนการตลาดและการติดตามผลลัพธ์การดำเนินงานของทุกภาคส่วนในธุรกิจ

Data Analytics คืออะไร?

Data Analytics คือ การนำข้อมูล Big Data ที่มีความซับซ้อนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาประมวลผลและวิเคราะห์ออกมาตามจุดประสงค์ที่ธุรกิจต้องการ

ตัวอย่างที่ชัดเจนคงหนีไม่พ้นการนำเครื่องมือ Data Analytics มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในอุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เข้าใจถึงเทรนด์ คุณภาพ ตลอดจนความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการของธุรกิจแล้ว Data Analytics ยังช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ทิศทางของตลาด คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน ไปจนถึงแนวทางการพัฒนาด้านการตลาดได้ ทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนพัฒนาการทำงานด้านการตลาดของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกมุมมอง

เครื่องมือ Data Analytics ทำงานอย่างไร?

เครื่องมือ Data Analytics แต่ละประเภทจะมีหลักการทำงานที่แตกต่างกันไปตามแนวทางการพัฒนาของผู้ให้บริการ แต่โดยพื้นฐานแล้ว ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลของ Data Analytics นั้นจะแบ่งการทำงานออกเป็น 4 ส่วนเบื้องต้น ดังนี้

1. Data Mining เป็นการนำข้อมูลจาก Big Data มาหาความสัมพันธ์ ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน เช่น มีการแบ่งและจำแนกข้อมูล ไปจนถึงการหารูปแบบความสัมพันธ์ทั้งหมด

2. Data Entry เป็นการแปลงข้อมูลทั้งหมดให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

3. Data Visualization เป็นการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของภาษาที่เข้าใจได้ทันที ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจข้อมูลและนำไปใช้งานต่อได้ทันที ซึ่งอาจแสดงผลในรูปแบบของการรายงานผลไปจนถึง Dashboard

4. Data Management เป็นการจัดการข้อมูลให้เป็นระเบียบ จัดเก็บให้พร้อมใช้งานได้อย่างสะดวกทุกเวลา

4 รูปแบบของระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ใน Data Analytics

เครื่องมือและระบบวิเคราะห์ข้อมูล Data Analytics ไม่ได้ใช้เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ระบบ Data Analytics นั้นสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ถึง 4 รูปแบบ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนธุรกิจได้อย่างรอบด้าน โดยรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นจะประกอบไปด้วย

1. Diagnostic Analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงวินิจฉัย เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลที่มองหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ตลอดจนสาเหตุของการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของยอดขายที่เปลี่ยนแปลงไปจากการนำเสนอโปรโมชันในแต่ละช่วงเวลาที่ต่างกัน

2. Descriptive Analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนใหญ่มักจะเป็นรายงานผลการดำเนินการของธุรกิจ รวมถึงรายงานยอดขาย

3. Prescriptive Analytics หรือ การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปเหตุการณ์ทั้งหมด ตลอดจนคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นแบบรอบด้าน ทั้งระยะเวลา ข้อดี/ข้อควรระวัง สาเหตุของเหตุการณ์ในอนาคต ไปจนถึงมอบคำแนะนำและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการเลือกใช้คำแนะนำแต่ละประเภท ถือเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนสูงสุด เป็นฟีเจอร์เฉพาะที่ไม่ได้มีในเครื่องมือวิเคราะห์ Data Analytics ทุกตัว

4. Predictive Analytics หรือ การวิเคราะห์แบบพยากรณ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อ้างอิงข้อมูลจากสถิติ ฐานข้อมูลพิเศษ หรือใช้ Artificial Intelligence ในการช่วยวิเคราะห์และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น

การวิเคราะห์ข้อมูลของ Data Analytics แต่ละรูปแบบล้วนมีประโยชน์ต่อธุรกิจในแง่มุมที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การช่วยสรุปยอดขาย การรายงานผลการดำเนินการ ไปจนถึงการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมไปถึงการมอบคำแนะนำและบอกถึงผลกระทบที่จะตามมาในแต่ละคำแนะนำ

ด้วยเหตุนี้ หากต้องการให้ธุรกิจพัฒนาและวางแผนได้อย่างรัดกุม ธุรกิจจึงควรมองหาระบบ Data Analytics ที่มีการประมวลผลที่รอบด้านและสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ครบทั้ง 4 รูปแบบในที่เดียว ซึ่งนอกจากจะซื้อเครื่องมือแยกเฉพาะส่วนแล้ว ธุรกิจยังสามารถเลือกใช้ Data Analytics Hub ซึ่งก็คือระบบการประมวลผลข้อมูลที่รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบครบจบในที่เดียว

ธุรกิจนำเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล Data Analytics มาปรับใช้ได้อย่างไร?

สำหรับธุรกิจที่ยังไม่มั่นใจว่าจะนำเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Data Analytics หรือ Data Analytics Hub มาใช้งานอย่างไรให้เกิดประโยชน์และตอบโจทย์ธุรกิจได้ทุกแง่มุม ตัวอย่างเช่น

- การใช้ Data Analytics เพื่อวิเคราะห์ความชอบของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้เลือกผลิตคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับความต้องการได้ ส่งผลให้รักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับในกรณีของ Netflix ที่ใช้ Data Analytics ทำโฆษณาเพื่อแสดงผลภาพยนตร์และซีรีส์ที่ตรงกับความต้องการของผู้ชม

- วางแผนการตลาดเพื่อจุดประสงค์ทางการตลาด เช่น การใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์แบบ Diagnostic Analytics เพื่อหาความสัมพันธ์ของยอดขายและปัจจัยต่าง ๆ ในโปรโมชัน ส่งผลให้ทีมการตลาดสามารถวางแผน คิดโปรโมชันและนำเสนอให้กับลูกค้าเพื่อรักษายอดขายได้

- ตัวช่วยวางแผนพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ โดยการนำข้อมูลที่ได้รับจากภาคส่วนอื่นมาวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น ธุรกิจค้าปลีกและผู้จำหน่ายอาหารสด สามารถใช้ข้อมูลมาพัฒนาระบบการขนส่ง ทำให้ธุรกิจค้าปลีกและจำหน่ายอาหารสดสามารถส่งอาหารให้กับลูกค้าได้โดยไม่เน่าเสีย ส่งผลให้รักษาและขยายฐานลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดั่งเช่นในกรณีของ Amazon ที่นำข้อมูล Big Data มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์และขนส่งของตนเอง

ระบบ Data Analytics ที่ธุรกิจควรรู้

Social Analytics Suite : เครื่องมือวิเคราะห์ Data Analytics เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ

การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเองทั้งหมด แม้จะได้ทำความเข้าใจรายละเอียดของข้อมูล แต่ก็ต้องแลกมากับเวลาที่แสนมีค่า ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจในด้านอื่นได้

ดังนั้น สำหรับธุรกิจที่สนใจเริ่มใช้ระบบ Data Analytics แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกใช้เครื่องมือตัวใดถึงจะตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างครบถ้วน ซึ่งนอกจากเครื่องมือพื้นฐานอย่าง Google Analytics, Excel และ Bi Tools แล้ว ธุรกิจยังสามารถเลือกใช้ Social Analytics Suite จาก Zanroo ที่มาพร้อมฟังก์ชันการทำงานที่ครบครัน วิเคราะห์ข้อมูลได้ครบทุกมุมมอง เพื่อช่วยให้ธุรกิจวางแผนไปสู่ความสำเร็จที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Social Analytics Suite เป็นแพลตฟอร์ม Data Analytics ที่มาพร้อมกับเครื่องมือ Data Analytics ครบทุกฟังก์ชัน มีการใช้ AI ประมวลผล ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ โดยระบบ Data Analytics ของ Social Analytics Suite จะประกอบไปด้วย 7 ฟังก์ชันหลัก

1. Social Listening ตัวช่วยรวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลแบบเรียลไทม์จากแพลตฟอร์มทั้ง Facebook, Google, X, YouTube, Instagram, TikTok, Pantip, Reddit และอื่น ๆ อีกมากมาย

2. Quick Analytics ตัวช่วยรวบรวมและประมวลผลข้อมูลที่ครอบคลุม Social Media ทุกแพลตฟอร์ม พร้อมสรุปข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อได้อย่างรวดเร็ว

3. Trend X ผู้ช่วยอัปเดตและติดตามเทรนด์ทุกแพลตฟอร์มทั่วโลกแบบเรียลไทม์

4. Ads Scanner ติดตามประสิทธิภาพการโฆษณาของธุรกิจคุณ และคู่แข่งอย่างรอบด้านในทุกแพลตฟอร์ม พร้อมช่วยสแกนหามิจฉาชีพที่อาจใช้ธุรกิจของคุณไปหลอกลวงผู้บริโภค

5. Influencer Analytics ระบบ Data Analytics ช่วยธุรกิจเลือก Influencer และ KOL ที่ตอบโจทย์ ทั้งในเชิงผลลัพธ์และความเข้ากันกับธุรกิจ

6. Data Automation ระบบช่วยจัดการข้อมูลเพื่อช่วยให้ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น

7. Custom Viz ระบบรวม Dashboard ต่าง ๆ ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้งานและธุรกิจ

มั่นใจในประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้งาน เครื่องมือ Data Analytics ของ Zanroo ผ่านการรับรอง ISO 27001 จากสถาบัน BSI และ ISO/IEC 29110 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานสากลไอเอสโอ หรือ ISO International Certification Agency (ISA) ภายใต้การบริหารของ ISEM ช่วยให้ธุรกิจรวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลแบบครบวงจร ธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ส่งผลให้ก้าวนำหน้าคู่แข่งและสร้างความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ติดต่อเพื่อทดลองใช้งาน Social Analytics Suite จาก Zanroo ที่มากกว่า 150 ธุรกิจชั้นนำทั่วโลกเลือกใช้ได้ที่อีเมล ask@zanroo.com

No items found.