รู้จัก Data Analytics และวิธีวิเคราะห์ข้อมูล
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจุบันนี้การทำธุรกิจนั้นขับเคลื่อนไปได้ด้วย 'Data' หรือข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวนำหน้าคู่แข่งและเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด บทความนี้ชวนมารู้จักกับ Data Analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูล กลยุทธ์สำคัญที่ธุรกิจยุคใหม่ต้องรู้จัก พร้อมสรุปวิธีวิเคราะห์ข้อมูลฉบับเข้าใจง่าย อ่านจบแล้วทำตามได้ทันที
Data Analytics คืออะไร?
Data Analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่มีอยู่ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมาวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถทำนายอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ โดยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลนั้นจะต้องอาศัยข้อมูลจาก Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า ข้อมูลคู่ค้า หรือ ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าและการใช้บริการของลูกค้า ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Data Analytics นั้น จะช่วยให้องค์กรได้ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจและลูกค้า และสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
Data Analytics หรือ การวิเคราะห์ข้อมูล สำคัญกับธุรกิจยุคปัจจุบันนี้อย่างไร?
ปัจจุบันนี้ มีข้อมูลใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวันบนโลกออนไลน์ ยิ่งองค์กรไหนที่หาวิธีวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการทำธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ จะนำมาซึ่งประโยชน์ดังต่อไปนี้
- ช่วยให้ค้นพบโอกาสใหม่ ๆ ในการทำธุรกิจ
เมื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์ จนได้ข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจและลูกค้า ก็จะช่วยให้เรามองเห็นไอเดียใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อีกมากมาย
- ช่วยพัฒนาแคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลที่ได้จากการทำ Data Analytics นั้น จะช่วยให้สามารถเข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ทั้งตรงตามความชอบ และตอบรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
- ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้เราเข้าใจความต้องการของลูกค้า นอกจากจะทำให้เราสามารถสร้างแคมเปญการตลาดได้ตรงใจ ยังช่วยให้เรามีโอกาสสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ด้วยการมอบสินค้าที่ใช่ และรูปแบบการให้บริการที่ตอบโจทย์ และยังสามารถคาดเดาความต้องการในอนาคตของลูกค้าได้อีกด้วย
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร
อีกหนึ่งความสำคัญของการทำ Data Analytics ที่มีต่อธุรกิจยุคดิจิทัลก็คือ การช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร เพราะเมื่อเราเข้าใจถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ก็จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ให้เราได้โฟกัสเฉพาะส่วนที่สำคัญ ทั้งยังทำให้เราสามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างเหมาะสม และได้แคมเปญการตลาดที่มีคุณภาพมากขึ้น
วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ที่เจ้าของธุรกิจยุคใหม่ต้องรู้
- ตั้งคำถามที่ต้องการหาคำตอบ
วิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่จะช่วยให้องค์กรได้ผลลัพธ์ที่ดีและสามารถนำไปใช้ได้จริง จะต้องเริ่มจากการ ‘ตั้งคำถาม’ เพื่อช่วยให้เราสามารถหาคำตอบที่ต้องการได้ ซึ่งคำถามนั้นควรจะเป็นคำถามเชิงลึก ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ เช่น จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ยอดขายตามเป้าที่ตั้งไว้? หรือ ทำไมยอดขายในเดือนที่ผ่านมาจึงลดลง และจะมีวิธีแก้อย่างไร?
- ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล
เมื่อเราได้คำถามที่อยากรู้แล้ว ขั้นตอนถัดมาก็คือการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีเครื่องมือที่จะช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลมหาศาลกลายเป็นเรื่องง่าย เช่น การใช้เครื่องมือ Social Listening, การค้นหาข้อมูลจาก Google Trend หรือ การทำแบบสอบถามออนไลน์
- นำข้อมูลที่ได้มาจัดระเบียบ
หลังจากได้ข้อมูลที่ต้องการ ก็ถึงขั้นตอนของการจัดระเบียบข้อมูล เพราะข้อมูลจำนวนมากที่ได้มาบางครั้งอาจจะเป็นข้อมูลที่ซ้ำกัน หรือเป็นข้อมูลที่ใช้ไม่ได้ทั้งหมด เราจึงต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดหมวดหมู่ใหม่ให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ และช่วยให้เราได้คำตอบที่แม่นยำที่สุด
- วิเคราะห์ข้อมูล
วิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้กันทั่วไปในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
- Descriptive Analytics เป็นวิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน ในลักษณะที่เข้าใจง่าย สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ตาราง กราฟ และแผนภูมิ
- Diagnostic Analytics เป็นการวิเคราะห์เชิงวินิจฉัย โดยเป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการทำ Descriptive Analytics มาหาคำตอบว่าทำไมจึงเกิดสิ่งนี้
- Predictive Analytics เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในเชิงการพยากรณ์ เพื่อหาแนวโน้มที่จะเกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งการที่จะวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้แม่นยำที่สุด จะต้องอาศัยข้อมูลตั้งต้นที่มีคุณภาพ
- Prescriptive Analytics เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนมากที่สุด โดยเมื่อได้ผลลัพธ์จาก Predictive Analytics แล้ว การวิเคราะห์ในขั้นตอนนี้จะช่วยให้เราได้แนวทางการดำเนินการที่เหมาะสม และยังสามารถวิเคราะห์ผลที่จะเกิดขึ้นจากการทำตามแนวทางนั้น ๆ ได้อีกด้วย
- นำผลลัพธ์ที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาส่วนที่ต้องการ
หลังเสร็จสิ้นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการนำผลลัพธ์ที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาในส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการ เพื่อให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
สำหรับธุรกิจใดที่สนใจทำ Data Analytics สามารถเริ่มใช้แพลตฟอร์ม Social Analytics Suite จาก Zanroo ได้เลย มาพร้อมกับเครื่องมือ Data Analytics ที่ใช้งานง่าย และระบบวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI สุดอัจฉริยะ ที่จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ให้ธุรกิจคุณก้าวนำเหนือคู่แข่ง ทดลองใช้ฟรีได้แล้ววันนี้ ปรึกษาเราได้เลยที่ อีเมล ask@zanroo.com
ข้อมูลอ้างอิง:
1. การวิเคราะห์ข้อมูลคืออะไร? พร้อมเทคนิคการวิเคราะห์ที่คุณควรรู้