สร้างธุรกิจให้สำเร็จด้วยการวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis)
ความสำเร็จของธุรกิจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หนึ่งในนั้น คือ การวิเคราะห์ตลาดเพื่อทำความเข้าใจกับทุกความเป็นไปในตลาดอย่างรอบด้าน จนสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างรัดกุมตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นไปจนถึงการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
แล้วการวิเคราะห์ตลาดคืออะไร จำเป็นต่อธุรกิจแค่ไหน แล้วธุรกิจควรเริ่มต้นพิจารณาและดูทิศทางตลาดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด มาหาคำตอบได้ในบทความนี้
การวิเคราะห์ตลาดคืออะไร?
ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของสินค้า การตั้งราคาขาย ไปจนถึงการสร้างแผนการตลาดที่สามารถสร้างยอดขายได้ในระยะยาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเริ่มธุรกิจให้ ‘อยู่ได้’ และ ‘ประสบความสำเร็จ’ จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจในตลาด ทั้งในแง่มุมของคู่แข่ง กลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนทิศทางของอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโดยรวม จากนั้นจึงวิเคราะห์ตลาดอย่างรอบคอบในทุกแง่มุม เพื่อสร้างแผนธุรกิจที่เหมาะสมและทำให้ธุรกิจ ‘อยู่ได้’ และ ‘มีโอกาสเติบโต’ ในระยะยาว
การวิเคราะห์ตลาด (Market Analysis) ไม่ได้เป็นการจับกลุ่มธุรกิจคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันมาวิเคราะห์หาจุดเด่นและจุดด้อยเท่านั้น แต่จะเป็นการรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้านมาวิเคราะห์อย่างละเอียดก่อนที่จะตัดสินใจปล่อยสินค้า เริ่มแคมเปญ หรือ ดำเนินการทางการตลาดตามจุดประสงค์ที่ต้องการ
การวิเคราะห์ตลาดนี้จะครอบคลุมไปถึงตัวตน ความชอบ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในทุกแง่มุม ทิศทางเศรษฐกิจ สถานการณ์ทั้งหมดของคู่แข่งในตลาด ตลอดจนแนวโน้มของตลาดในระยะสั้นและระยะยาว โดยธุรกิจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปพิจารณาเพื่อสร้างแผนธุรกิจที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกแง่มุมได้
การวิเคราะห์ตลาดจำเป็นต่อธุรกิจแค่ไหน?
การวิเคราะห์ตลาด นอกจากจะช่วยให้เริ่มต้นธุรกิจได้อย่างมั่นคงแล้ว ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจ ‘อยู่ได้’ และ ‘สร้างโอกาสเติบโต’ ในระยะยาว เนื่องจากเหตุผล 2 ข้อสำคัญ ดังนี้
1. ตัวช่วยวางแผนรับมือความเสี่ยง
เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า การวิเคราะห์ตลาดมีความสำคัญในช่วงการเริ่มธุรกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ตลาดอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน ทุกไตรมาส หรือทุกปี เพื่อให้ธุรกิจเท่าทันและสามารถวางแผนรับมือความเปลี่ยนแปลงที่นำมาซึ่งความเสี่ยงได้
อีกทั้งการวิเคราะห์ตลาดอยู่เสมอยังสามารถช่วยให้ธุรกิจเข้าใจทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนความผันผวนของเศรษฐกิจที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรม คู่แข่ง ตลอดจนพฤติกรรมการใช้จ่ายและตัวตนของผู้บริโภค เมื่อทำความเข้าใจภาพรวมและทิศทางตลาดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแล้ว ธุรกิจก็จะสามารถวางแผนรับมือความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญ การวิเคราะห์ตลาดยังสามารถช่วยให้ธุรกิจเห็นข้อผิดพลาดของตัวเองในหลากหลายแง่มุม ส่งผลให้สามารถวางแผนพัฒนาธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจลดความเสี่ยงที่จะเสียต้นทุนที่ไม่จำเป็นไปกับการแก้ปัญหาได้อีกด้วย
2. ผู้ช่วยวิเคราะห์คู่แข่งและเพิ่มโอกาสธุรกิจ
ยิ่งรู้จักลูกค้าและทิศทางตลาดมากเท่าไหร่ ธุรกิจก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น โดยการวิเคราะห์ตลาดอยู่เป็นประจำนี้ นอกจากจะช่วยให้ธุรกิจเท่าทันความเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังสามารถช่วยให้ธุรกิจรู้จักกลุ่มเป้าหมายได้อย่างละเอียด ทั้งพฤติกรรมการใช้จ่าย ความชอบ จิตวิทยาที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้า ตลอดจนมีการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะเจาะจง เพื่อวางแผนการออกผลิตภัณฑ์และสร้างแผนการตลาดที่ตอบโจทย์มากที่สุด ส่งผลให้มีโอกาสเพิ่มยอดขายและบรรลุจุดประสงค์การตลาดในแต่ละไตรมาสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตลาดยังช่วยให้ธุรกิจเข้าใจคู่แข่งได้อย่างรอบด้าน ทำให้สามารถโฟกัสคู่แข่งตามกลุ่มเป้าหมายและประเภทของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ไม่เพียงเท่านั้น การวิเคราะห์และพิจารณาตลาดยังช่วยให้ธุรกิจรู้ถึงสัดส่วนทางการตลาด จนสามารถเปรียบเทียบคู่แข่งเพื่อวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย และแนวทางการพัฒนาธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งได้ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสการเติบโตในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจเริ่มวิเคราะห์ตลาดได้อย่างไร?
จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ตลาดถือเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว อย่างไรก็ดี สำหรับธุรกิจที่ยังไม่ได้ใช้บริการ Market Research หรือ ไม่มีเครื่องมือวิเคราะห์ตลาด แต่อยากมองเห็นภาพรวมของตลาดอย่างละเอียดและรอบด้าน จนสามารถสร้างแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองมาเริ่มวิเคราะห์ตลาดเบื้องต้นได้ตาม 5 ขั้นตอน เหล่านี้
1. กำหนดจุดประสงค์การวิเคราะห์
ก่อนที่จะรวบรวมข้อมูลที่ต้องการทราบ ธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ก่อนเสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยกำหนดทิศทางในการวิเคราะห์ ตลอดจนเป็นการสร้างแผนในการสำรวจตลาดที่เหมาะสม
เช่น หากต้องการสร้างธุรกิจใหม่ ธุรกิจสามารถกำหนดจุดประสงค์การวิเคราะห์เป็นการหากลุ่ม Potential Customer หรือ หากต้องการต่อยอดธุรกิจเดิม ขยายฐานลูกค้า หรือ ต้องการเพิ่มการแข่งขันด้านส่วนแบ่งทางการตลาด ธุรกิจก็จะสามารถกำหนดจุดประสงค์ในการวิเคราะห์ หรือเป็นการทำ Business Operation Development ก็ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ดี ธุรกิจควรเลือกวิเคราะห์ตลาดตามจุดประสงค์ที่แยกกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพสูงสุด จนสามารถนำมาต่อยอดตามเป้าหมายที่ต้องการได้
2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
หลังจากที่กำหนดจุดประสงค์ของการวิเคราะห์ตลาด ตลอดจนมีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์จนได้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่พร้อมนำมาใช้งานเรียบร้อย ในส่วนนี้ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มลูกค้าที่สนใจ เพื่อวางแผนธุรกิจที่เหมาะสมต่อไป
เช่น มีการสำรวจตลาดผ่านการนำข้อมูลจากภาครัฐ ภาคเอกชน ข้อมูลจากสมาคมการค้า ข้อมูลเชิงลึกในแต่ละอุตสาหกรรม ตลอดจนแบบสอบถามของลูกค้ามาประมวลผล จากนั้นจึงกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ พร้อมสร้างสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่สนใจได้จริง ๆ
3. กำหนดคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
หลังจากที่ทำการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่สนใจตามจุดประสงค์ต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อย ในขั้นตอนถัดไปจะเป็นการวิเคราะห์คู่แข่งทั้งหมดในอุตสาหกรรมเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ธุรกิจมองเห็นจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละแบรนด์ จากนั้นจึงสามารถวางแผนพัฒนาธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่งในทุกมุมมอง
การวิเคราะห์คู่แข่งในส่วนนี้เริ่มต้นได้จากการพิจารณาธุรกิจที่ให้บริการในกลุ่มเป้าหมายเดียวกัน จากนั้นจึงวิเคราะห์ถึงส่วนแบ่งทางการตลาด ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มลูกค้าแต่ละแบรนด์ เพื่อดูถึงเหตุผลที่ลูกค้ายอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์คู่แข่ง จากนั้นจึงนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างแผนพัฒนาธุรกิจให้เหนือกว่าคู่แข่ง จนสร้างฐานลูกค้าและยอดขายในระยะยาวได้
4. กำหนดตำแหน่งธุรกิจในตลาด
ไม่เพียงแต่จะต้องเข้าใจคู่แข่งในตลาดอย่างรอบด้านเท่านั้น แต่ธุรกิจยังควรวางตำแหน่ง (Brand Position) ในตลาดให้เหมาะสมอีกด้วย โดยเมื่อได้ข้อเปรียบเทียบจากการวิเคราะห์คู่แข่งมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ธุรกิจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์จุดเด่นและจุดด้อยด้วย SWOT Analysis แบ่งตำแหน่งธุรกิจตามแนวแกน X และ แกน Y
เช่น แกน X แนวนอนอาจจะกำหนดเป็นประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ในขณะที่แกน Y แนวตั้งอาจจะกำหนดเป็นราคาของผลิตภัณฑ์ จากนั้นให้ลองนำคู่แข่งจากอุตสาหกรรมเดียวกันวางตามแนวแกน X และ Y เพียงเท่านี้ ธุรกิจก็จะได้เห็น Brand Position ของคู่แข่งได้ชัดเจน ตลอดจนข้อดีและข้อเสียของผลิตภัณฑ์คู่แข่งในแง่มุมต่าง ๆ ทำให้สามารถวางแผนพัฒนาธุรกิจให้อยู่เหนือกว่าได้
5. ศึกษารายละเอียดเฉพาะของธุรกิจ
หลังจากที่วิเคราะห์ทิศทางตลาด อุตสาหกรรม คู่แข่ง ตลอดจนเข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแล้ว ก่อนที่จะนำแผนที่สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกไปพัฒนาธุรกิจ อย่าลืมศึกษาและนำรายละเอียดเฉพาะของธุรกิจแต่ละแห่งมาพิจารณาร่วมกันด้วย
ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ภาษีเฉพาะของธุรกิจ ข้อบังคับจากภาครัฐเกี่ยวกับการผลิต การจัดส่ง และการจัดจำหน่าย การตลาดในแต่ละแพลตฟอร์ม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในทุกแง่มุม
จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์ตลาดถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นการปูเส้นทางความสำเร็จให้ธุรกิจตั้งแต่ก่อนเริ่มธุรกิจไปจนถึงการดำเนินการในระยะยาว
อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ตลาดด้วยตัวเองทุกขั้นตอน แม้จะช่วยให้ธุรกิจทำความเข้าใจทุกรายละเอียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า นอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังเสี่ยงที่จะวิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาดได้อีกด้วย
ดังนั้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ Zanroo มาพร้อมกับบริการ Market Research ที่ครอบคลุมการวิเคราะห์ตลาดแบบรอบด้าน ประมวลผลได้ถูกต้องและแม่นยำ รู้ทันคู่แข่งและความเปลี่ยนแปลงในตลาด เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยวางแผนให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม สนใจทดลองใช้งาน ส่งข้อความมาได้ที่อีเมล ask@zanroo.com